วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ | Sammakorn
ค้นหาโครงการที่เหมาะกับคุณ
ทำเลที่ตั้ง
เลือกทำเลที่ตั้ง
เลือกแล้ว0
ค้นหาจากทำเลที่ตั้ง
ประเภทโครงการ
เลือกประเภทโครงการ
เลือกแล้ว0
เลือกประเภทโครงการ
ช่วงราคา
เลือกช่วงราคา
เลือกแล้ว0
เลือกช่วงราคา

วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ | Sammakorn

Mental Health
วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ
16 กุมภาพันธ์ 2567
sammakorn | วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ

ทำไมเราถึงคิดว่าผู้สูงวัยเข้าใจยาก ? คำตอบมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ ไม่เป็นผู้สูงวัยไม่รู้หรอก ธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าเรายังเติบโตไม่ถึงอายุนั้น เราจะไม่มีวันเข้าใจความเป็นจริงของคนที่มีอายุมากกว่าเราเลย ถ้าที่บ้านมีผู้สูงวัยอยู่ด้วย เรามาดูไปพร้อม ๆ กันดีกว่า ว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง ที่จะช่วยดูแลใจของผู้สูงวัยให้สดใสและมีความสุขกว่าเดิม

 

บางครั้งอยู่ที่บ้าน เห็นคุณยายนั่งเล่นกับแมว เราก็คิดว่าคุณยายน่าจะมีความสุข เห็นคุณทวดอายุ 90 นั่งดูทีวีทั้งวันไม่ทำอะไร ท่านคงชิล ๆ ไปกับรายการทีวี อากงนั่งนิ่ง ยิ้มอยู่ในสวนหลังบ้านคนเดียว คงกำลังเพลินไปกับบรรยากาศของต้นไม้ แต่ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดแทนผู้สูงวัยจากที่เห็น แต่ถ้าไม่ได้นั่งพูดคุยกับท่าน เราจะรู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ว่าสิ่งที่เราเห็น ท่านรู้สึกแบบนั้น จริง ๆ หรือเปล่า ?


ข้อมูลจากจิตเวชผู้สูงอายุบอกว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักไม่ค่อยระบายความรู้สึกกับลูกหลาน โดยเฉพาะความรู้สึกอ้างว้าง พวกท่านจะเก็บความรู้สึกต่าง ๆ ไว้ในใจโดยเฉพาะความรู้สึกลบ ๆ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ นานไปอาจจะไปกระทบต่อจิตใจ ความเครียด และสุขภาพได้ของท่านได้ เมื่อรู้แบบนี้ คงไม่มีใครอยากให้คนในครอบครัวของเรารู้สึกไม่แฮปปี้ และนี่คือ 5 วิธีดูแลใจและเข้าใจผู้สูงวัยในบ้านของเราแบบง่าย ๆ

 

นี่คือวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

วิธีแรกที่อยากให้ทุกคนในบ้านเริ่มทำ นั่นคือ หันหน้าปรับตัวเข้าหากัน ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันว่า เมื่ออายุมากขึ้นนอกจากตัวเลขที่เปลี่ยนไป ยังมีทั้งเรื่องสุขภาพ ร่างกาย จิตใจที่เปลี่ยนแปลง ถ้าผู้สูงวัยในบ้านทำอะไรช้า อย่าไปเร่งหรืออารมณ์เสียใส่เลย เพราะพวกท่านต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าเมื่อก่อน จากที่เคยเดินเหินสะดวก บางทีก็รู้สึกไม่คล่องตัวเอาซ่ะอย่างนั้น หรือถ้าวันไหนท่านเสียงดังใส่ ก็อย่าไปคิดมาก อาจจะแค่ฟังไม่ค่อยถนัดเท่าเมื่อก่อน ถ้าทุกคนเข้าใจในเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย เชื่อเถอะว่า เรื่องที่เคยทำให้ไม่สบอารมณ์ หรือไม่เข้าใจกัน จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยทันที

 

ห่างได้แต่อย่าไกล นี่คือระยะห่างที่ปลอดภัย

วิธีที่สอง มีระยะห่างของทุกคนในบ้านอย่างพอดี ต่อให้เราเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนต่างก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัว เพราะมีวิถีและภาระหน้าที่ที่ต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ แต่สำหรับผู้สูงวัย การจะให้ลูกหลานตัวติดกันเสมอ ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดูกดดันกันจนเกินไป จนอาจทำให้หลายคนต้องอึดอัด เพราะฉะนั้น สร้างระยะห่างที่พอดีกับผู้สูงวัย ไม่ห่างจนลืมดูแลท่าน และไม่ใกล้จนกดดันคนที่คอยดูแล แต่อย่าลืมว่า ในผู้สูงอายุเราจำเป็นที่จะต้องดูแลท่านบ่อยๆ และให้อยู่ในสายตาเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุหรือเรื่องไม่คาดฝันต่าง ๆ เพราะร่างกายท่านอาจจะเปราะบาง เดินไปไหนก็ต้องคอยดู อย่าให้ลื่นหกล้มเด็ดขาด และเพื่อเป็นการไม่ประมาท อาจจะให้ท่านพักอยู่ในห้องที่มีคนผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน


#ถ้าอยากได้คำตอบให้ใช้ใจถาม 

เคยได้ยินไหมว่า ยิ่งอายุเยอะขึ้น ยิ่งดื้อเหมือนเด็ก ประโยคนี้ไม่เกินจริง แต่อย่าเพิ่งคิดว่าผู้สูงวัยเอาแต่ใจนะ เป็นเพราะพวกท่านใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์มามากมาย และมีเหตุและผลในแบบของพวกท่านเอง เพราะฉะนั้นวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่ดีที่สุด ให้เราคุยกันรู้เรื่อง คือ ใช้ใจดูแล การใช้ใจดูแลเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน อาจจะต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากกว่าการดูแลแค่ทางกายภาพ หาจังหวะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันอยู่บ่อย ๆ เราจะได้เข้าใจว่าท่านนึกคิดอะไร ต่อไปเมื่อเราถามอะไรท่าน เราจะได้เข้าใจในเหตุผลของคำตอบของพวกท่าน ทีนี้เราก็จะสามารถคุยกันรู้เรื่องได้มากกว่าเดิม

 

#คำพูดที่ผู้สูงวัยอยากได้ยินจากคนในครอบครัว

เมื่อในครอบครัวมีสมาชิกต่างวัยอยู่ด้วยกันเยอะ ๆ มักจะเกิดช่องว่างระหว่างวัย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่บางบ้านเลือกที่จะเงียบใส่กัน เพียงเพราะเหตุผลที่ว่าเราคุยกันคนละเรื่อง ไม่อยากชวนทะเลาะ แต่รู้มั้ยว่า ยิ่งหนี ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างวัยตรงนี้กว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการพูดคุยกัน คือ การเลือกคำพูดที่เหมาะสมเสียมากกว่า เพื่อลดการปะทะ ลองเลือกคำพูดที่น่าฟัง ปรับมู้ดในบ้านให้อบอุ่น สร้างความทรงจำดี ๆ ไปด้วยกัน ด้วยประโยคเหล่านี้ “เหนื่อนไหม?” “วันนี้อยากทานอะไร?” “มีอะไรอยากได้หรือเปล่า?” “ทำได้อยู่แล้ว!” “ดีจังเลย” “ไม่เป็นไร” “เดี๋ยวมาลองกันใหม่” “รักนะ” “คิดถึง” ลองเลือกใช้ชุดคำพูดเชิงบวก และให้กำลังใจกันและกันเยอะ ๆ อย่าลืมที่จะกล่าวขอโทษ และขอบคุณในโอกาสที่สมควร การถามไถ่ให้กำลังใจผู้สูงวัย จะช่วยให้พวกท่านรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เพียงแค่นี้ก็สามารถเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างวัยได้แล้ว



 

#ทุกคนในครอบครัวสำคัญเท่ากัน 

วิธีสุดท้ายที่อยากให้ลองทำ คือ เปลี่ยนความคิดของทุกคนในบ้านต่อผู้สูงวัย อย่ามัวคิดว่าวัยทำงานสำคัญที่สุดในบ้าน ต้องได้รับการดูแลที่ดีที่สุด เพียงเพราะเป็นหัวหน้าครอบครัวในการหาเงินมาให้กับคนในครอบครัว แล้วตัดความสำคัญของผู้สูงวัยในบ้าน เหลือเพียงให้ความเคารพท่านเท่านั้น อย่าลืมว่าผู้สูงวัยก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ท่านรู้อะไรมากมายในสิ่งที่คนหนุ่มสาวไม่รู้ มีอะไรก็ลองปรึกษาพูดคุยกับท่านเยอะ ๆ เพราะเชื่อเถอะว่า ท่านพร้อมจะดูแล และมอบความเป็นห่วงเป็นใยให้กับลูกหลานอยู่เสมอ เพราะอยากจะเห็นลูกหลานประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างมั่นคง ไม่ต้องเลือกปฏิบัติ ใช้ชีวิตกับทุกคนแบบปกติ นี่แหละคือการลดช่องว่างระหว่างเรา

 

อย่าลืมว่า ไม่ว่าวัยไหนไม่เฉพาะผู้สูงอายุ สุขภาพจิตจำเป็นไม่แพ้เรื่องสุขภาพ การดูแลใจกันและกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อความสุขของทุกคนในบ้าน

 

สัมมากร

บ้านที่หลับสบาย

Have a good sleep

แอดไลน์สัมมากร: https://bit.ly/3NB2Irs

 

#อยากให้รู้ว่าสัมมากรขายบ้าน #SAMMAKORN #บ้าน #สัมมากร #บ้านที่หลับสบาย #สุขภาพจิตดี #ดูแลผู้สูงอายุ #ครอบครัว

สมัครรับข่าวสาร
อีเมล*