วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ | Sammakorn
Find a project that's right for you.
location
choose location
selected0
Search by location
project type
select project type
selected0
select project type
price range
select price range
selected0
select price range

วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ | Sammakorn

Mental Health
วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ
16 กุมภาพันธ์ 2567
sammakorn | วิธีง่าย ๆ ดูแลใจผู้สูงวัยในบ้านด้วยใจอย่างเข้าใจ

ทำไมเราถึงคิดว่าผู้สูงวัยเข้าใจยาก ? คำตอบมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือ ไม่เป็นผู้สูงวัยไม่รู้หรอก ธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าเรายังเติบโตไม่ถึงอายุนั้น เราจะไม่มีวันเข้าใจความเป็นจริงของคนที่มีอายุมากกว่าเราเลย ถ้าที่บ้านมีผู้สูงวัยอยู่ด้วย เรามาดูไปพร้อม ๆ กันดีกว่า ว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง ที่จะช่วยดูแลใจของผู้สูงวัยให้สดใสและมีความสุขกว่าเดิม

 

บางครั้งอยู่ที่บ้าน เห็นคุณยายนั่งเล่นกับแมว เราก็คิดว่าคุณยายน่าจะมีความสุข เห็นคุณทวดอายุ 90 นั่งดูทีวีทั้งวันไม่ทำอะไร ท่านคงชิล ๆ ไปกับรายการทีวี อากงนั่งนิ่ง ยิ้มอยู่ในสวนหลังบ้านคนเดียว คงกำลังเพลินไปกับบรรยากาศของต้นไม้ แต่ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงสิ่งที่เราคิดแทนผู้สูงวัยจากที่เห็น แต่ถ้าไม่ได้นั่งพูดคุยกับท่าน เราจะรู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ว่าสิ่งที่เราเห็น ท่านรู้สึกแบบนั้น จริง ๆ หรือเปล่า ?


ข้อมูลจากจิตเวชผู้สูงอายุบอกว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักไม่ค่อยระบายความรู้สึกกับลูกหลาน โดยเฉพาะความรู้สึกอ้างว้าง พวกท่านจะเก็บความรู้สึกต่าง ๆ ไว้ในใจโดยเฉพาะความรู้สึกลบ ๆ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ นานไปอาจจะไปกระทบต่อจิตใจ ความเครียด และสุขภาพได้ของท่านได้ เมื่อรู้แบบนี้ คงไม่มีใครอยากให้คนในครอบครัวของเรารู้สึกไม่แฮปปี้ และนี่คือ 5 วิธีดูแลใจและเข้าใจผู้สูงวัยในบ้านของเราแบบง่าย ๆ

 

นี่คือวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

วิธีแรกที่อยากให้ทุกคนในบ้านเริ่มทำ นั่นคือ หันหน้าปรับตัวเข้าหากัน ทำความเข้าใจซึ่งกันและกันว่า เมื่ออายุมากขึ้นนอกจากตัวเลขที่เปลี่ยนไป ยังมีทั้งเรื่องสุขภาพ ร่างกาย จิตใจที่เปลี่ยนแปลง ถ้าผู้สูงวัยในบ้านทำอะไรช้า อย่าไปเร่งหรืออารมณ์เสียใส่เลย เพราะพวกท่านต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าเมื่อก่อน จากที่เคยเดินเหินสะดวก บางทีก็รู้สึกไม่คล่องตัวเอาซ่ะอย่างนั้น หรือถ้าวันไหนท่านเสียงดังใส่ ก็อย่าไปคิดมาก อาจจะแค่ฟังไม่ค่อยถนัดเท่าเมื่อก่อน ถ้าทุกคนเข้าใจในเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย เชื่อเถอะว่า เรื่องที่เคยทำให้ไม่สบอารมณ์ หรือไม่เข้าใจกัน จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยทันที

 

ห่างได้แต่อย่าไกล นี่คือระยะห่างที่ปลอดภัย

วิธีที่สอง มีระยะห่างของทุกคนในบ้านอย่างพอดี ต่อให้เราเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนต่างก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัว เพราะมีวิถีและภาระหน้าที่ที่ต่างกันออกไปในแต่ละช่วงอายุ แต่สำหรับผู้สูงวัย การจะให้ลูกหลานตัวติดกันเสมอ ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดูกดดันกันจนเกินไป จนอาจทำให้หลายคนต้องอึดอัด เพราะฉะนั้น สร้างระยะห่างที่พอดีกับผู้สูงวัย ไม่ห่างจนลืมดูแลท่าน และไม่ใกล้จนกดดันคนที่คอยดูแล แต่อย่าลืมว่า ในผู้สูงอายุเราจำเป็นที่จะต้องดูแลท่านบ่อยๆ และให้อยู่ในสายตาเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุหรือเรื่องไม่คาดฝันต่าง ๆ เพราะร่างกายท่านอาจจะเปราะบาง เดินไปไหนก็ต้องคอยดู อย่าให้ลื่นหกล้มเด็ดขาด และเพื่อเป็นการไม่ประมาท อาจจะให้ท่านพักอยู่ในห้องที่มีคนผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน


#ถ้าอยากได้คำตอบให้ใช้ใจถาม 

เคยได้ยินไหมว่า ยิ่งอายุเยอะขึ้น ยิ่งดื้อเหมือนเด็ก ประโยคนี้ไม่เกินจริง แต่อย่าเพิ่งคิดว่าผู้สูงวัยเอาแต่ใจนะ เป็นเพราะพวกท่านใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์มามากมาย และมีเหตุและผลในแบบของพวกท่านเอง เพราะฉะนั้นวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่ดีที่สุด ให้เราคุยกันรู้เรื่อง คือ ใช้ใจดูแล การใช้ใจดูแลเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน อาจจะต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากกว่าการดูแลแค่ทางกายภาพ หาจังหวะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันอยู่บ่อย ๆ เราจะได้เข้าใจว่าท่านนึกคิดอะไร ต่อไปเมื่อเราถามอะไรท่าน เราจะได้เข้าใจในเหตุผลของคำตอบของพวกท่าน ทีนี้เราก็จะสามารถคุยกันรู้เรื่องได้มากกว่าเดิม

 

#คำพูดที่ผู้สูงวัยอยากได้ยินจากคนในครอบครัว

เมื่อในครอบครัวมีสมาชิกต่างวัยอยู่ด้วยกันเยอะ ๆ มักจะเกิดช่องว่างระหว่างวัย ถือเป็นเรื่องปกติ แต่บางบ้านเลือกที่จะเงียบใส่กัน เพียงเพราะเหตุผลที่ว่าเราคุยกันคนละเรื่อง ไม่อยากชวนทะเลาะ แต่รู้มั้ยว่า ยิ่งหนี ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างวัยตรงนี้กว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการพูดคุยกัน คือ การเลือกคำพูดที่เหมาะสมเสียมากกว่า เพื่อลดการปะทะ ลองเลือกคำพูดที่น่าฟัง ปรับมู้ดในบ้านให้อบอุ่น สร้างความทรงจำดี ๆ ไปด้วยกัน ด้วยประโยคเหล่านี้ “เหนื่อนไหม?” “วันนี้อยากทานอะไร?” “มีอะไรอยากได้หรือเปล่า?” “ทำได้อยู่แล้ว!” “ดีจังเลย” “ไม่เป็นไร” “เดี๋ยวมาลองกันใหม่” “รักนะ” “คิดถึง” ลองเลือกใช้ชุดคำพูดเชิงบวก และให้กำลังใจกันและกันเยอะ ๆ อย่าลืมที่จะกล่าวขอโทษ และขอบคุณในโอกาสที่สมควร การถามไถ่ให้กำลังใจผู้สูงวัย จะช่วยให้พวกท่านรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เพียงแค่นี้ก็สามารถเปลี่ยนบทสนทนาระหว่างวัยได้แล้ว



 

#ทุกคนในครอบครัวสำคัญเท่ากัน 

วิธีสุดท้ายที่อยากให้ลองทำ คือ เปลี่ยนความคิดของทุกคนในบ้านต่อผู้สูงวัย อย่ามัวคิดว่าวัยทำงานสำคัญที่สุดในบ้าน ต้องได้รับการดูแลที่ดีที่สุด เพียงเพราะเป็นหัวหน้าครอบครัวในการหาเงินมาให้กับคนในครอบครัว แล้วตัดความสำคัญของผู้สูงวัยในบ้าน เหลือเพียงให้ความเคารพท่านเท่านั้น อย่าลืมว่าผู้สูงวัยก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ท่านรู้อะไรมากมายในสิ่งที่คนหนุ่มสาวไม่รู้ มีอะไรก็ลองปรึกษาพูดคุยกับท่านเยอะ ๆ เพราะเชื่อเถอะว่า ท่านพร้อมจะดูแล และมอบความเป็นห่วงเป็นใยให้กับลูกหลานอยู่เสมอ เพราะอยากจะเห็นลูกหลานประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างมั่นคง ไม่ต้องเลือกปฏิบัติ ใช้ชีวิตกับทุกคนแบบปกติ นี่แหละคือการลดช่องว่างระหว่างเรา

 

อย่าลืมว่า ไม่ว่าวัยไหนไม่เฉพาะผู้สูงอายุ สุขภาพจิตจำเป็นไม่แพ้เรื่องสุขภาพ การดูแลใจกันและกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพื่อความสุขของทุกคนในบ้าน

 

สัมมากร

บ้านที่หลับสบาย

Have a good sleep

แอดไลน์สัมมากร: https://bit.ly/3NB2Irs

 

#อยากให้รู้ว่าสัมมากรขายบ้าน #SAMMAKORN #บ้าน #สัมมากร #บ้านที่หลับสบาย #สุขภาพจิตดี #ดูแลผู้สูงอายุ #ครอบครัว

subscribe
Email*